เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักการเล่นเป่ายิ้งฉุบ เกมส์ง่ายๆ ที่ทำมือออก “ค้อน กรรไกร กระดาษ” ที่เรามักชอบเล่นกันเวลาว่างแล้ว และก็ยังเป็นเกมส์ตัดสินใจบางอย่างที่เราหาข้อสรุปกันไม่ได้ ทราบไหมว่า เกมส์เป่ายิ้งฉุบนี้ มีอยู่ทั่วโลก แต่ละประเทศมีวิธีการเรียกออกเสียงไม่เหมือนกัน และบางประเทศก็เล่นแตกต่างจากที่อื่น มาดูกันดีกว่าว่าการเล่นเป่ายิ้งฉุบแต่ละที่ จะแตกต่างอย่างไร
การเล่นเป่ายิ้งฉุบ ในแต่ละประเทศ
เป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็ก ๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเป่ายิ้งฉุบทำมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง เหมือนทำท่าชูสองนิ้ว)
กติกาการเล่น
- ค้อน : ชนะกรรไกร แต่แพ้กระดาษ
- กระดาษ : ชนะค้อน แต่แพ้กรรไกร
- กรรไกร : ชนะกระดาษ แต่แพ้ค้อน
การเล่น
ผู้เล่นทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ไพล่มือที่จะเสี่ยงไว้ด้านหลัง เมื่อนับ “เป่า ยิ้ง” จะเตรียมเสี่ยงมือเอาไว้ ว่าจะออกเป็น ค้อน กระดาษ หรือกรรไกร เมื่อพูด “ฉุบ” ทั้งสองจะออกมือมาพร้อมกัน และจะรู้ทันทีว่าใครแพ้ ชนะ หรือเสมอ
เคล็ดลับและเทคนิค (ไม่เป็นที่ยืนยันแน่นอน)
- การเล่นเป่ายิ้งฉุบนั้น ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ผู้เล่นส่วนมากมักจะออก กรรไกรหรือกระดาษในตาแรก เนื่องจากการออกค้อนนั้นยังคงสภาพกำมือไว้แบบ เดิมตามความรู้สึกแล้ว ผู้เล่นจึงมักจะไม่ออกค้อนในตาแรก ฉะนั้น หากในตาแรกออกกรรไกรไว้ก่อน เมื่อปะทะกับกรรไกร หรือกระดาษของฝ่ายตรงข้าม ก็จะมีโอกาสชนะ หรือเสมอมากกว่าแพ้
- ในตาที่สอง ให้ออกสัญลักษณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามออกไว้ในตาที่แล้ว เช่น ฝ่ายตรงข้ามออกกรรไกร ก็ให้ออกกรรไกรตามในตาถัดไป จะมีโอกาสชนะมากกว่า
การเล่นเป่ายิ้งฉุบในประเทศต่างๆ
ประเทศเกาหลี เรียก คาวี พาวี โพ (가위 바위 보) พอพูดเร็วๆ ก็จะแผลงเป็น ไค ไพ โพ
ประเทศญี่ปุ่น เรียก จัง เคน โปง jan-ken-pon! หรือเต็มๆ ว่า jan-ken-pon, aiko de sho! ใช้หลักเดียวกับไทย นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นยังมีการเล่นเป่ายิ้งฉุบด้วยขา
โดยกางขาหมายถึงกระดาษ ยืนตรงหมายถึงค้อน และยื่นขาหนึ่งข้างไปข้างหน้าหมายถึงกรรไกร ส่วนกฏการเล่นนั้นยังคงเหมือนเดิม
- ประเทศสิงคโปร์
การเล่นมีทำมือสามแบบ คือ มังกร จีบนิ้วทั้งห้า / ก้อนหิน กำมือ / น้ำ หงายฝ่ามือ เริ่มเล่น ร้องว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท มีกติกา คือ
มังกรดื่มน้ำ มังกรชนะ
น้ำทำให้ก้อนหินจม น้ำชนะ
ก้อนหินฆ่ามังกร ก้อนหินชนะ
- ประเทศมาเลเซีย
เรียกว่า วัน ทู ซุม การทำมือ มีห้าอย่าง คือ นก จีบนิ้วทั้งห้า /ก้อนหิน กำมือ /ปืน กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ /กระดาน คว่ำมือลง /น้ำ หงายฝ่ามือขึ้น
มีกติกา คือ
- นกดื่มน้ำ นกชนะ
- หินขว้างนก หินชนะ
- หินทุบกระดานแตก หินชนะ
- ปืนยิงก้อนหินแตก ปืนชนะ
- ปืนยิงนกตาย ปืนชนะ
- ปืนยิงกระดานแตก ปืนชนะ
- น้ำทำให้ปืนจม น้ำชนะ
- น้ำทำให้หินจม น้ำชนะ
- กระดานลอยน้ำ กระดานชนะ
- กระดานกดนก กระดานชนะ
- ชาติตะวันตก
เรียก ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (Rock-paper-scissors) มี กรรไกร กระดาษ และ หิน เล่นตามแบบไทยและญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นการเล่นตามชาติตะวันออก ชาวอเมริกันมักเรียกเกม เป่า ยิ้ง ฉุบ ว่า “โรแชมโบ้” (roshambo)
จักรวาลแห่งการเ ป่ายิงฉุบ
ไม่หมดเพียงเท่านั้น ล่าสุดมีเพจเฟสบุ๊ก Kanyachan ได้เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความว่า “แท้จริงแล้วจักรวาลแห่งการเ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการทำมือเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น มังกร หมาป่า งู ต้นไม้ เป็นต้น พร้อมกับเส้นลูกศรที่โยงไปมา แสดงถึงว่าการออกมือในลักษณะนี้จะชนะกับแบบไหนอีกด้วย