การเล่นเป่ายิ่งฉุบของแต่ละประเทศ

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักการเล่นเป่ายิ้งฉุบ เกมส์ง่ายๆ ที่ทำมือออก “ค้อน กรรไกร กระดาษ” ที่เรามักชอบเล่นกันเวลาว่างแล้ว และก็ยังเป็นเกมส์ตัดสินใจบางอย่างที่เราหาข้อสรุปกันไม่ได้ ทราบไหมว่า เกมส์เป่ายิ้งฉุบนี้ มีอยู่ทั่วโลก แต่ละประเทศมีวิธีการเรียกออกเสียงไม่เหมือนกัน และบางประเทศก็เล่นแตกต่างจากที่อื่น มาดูกันดีกว่าว่าการเล่นเป่ายิ้งฉุบแต่ละที่ จะแตกต่างอย่างไร

การเล่นเป่ายิ้งฉุบ ในแต่ละประเทศ

เป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็ก ๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเป่ายิ้งฉุบทำมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง เหมือนทำท่าชูสองนิ้ว)

กติกาการเล่น

  • ค้อน : ชนะกรรไกร แต่แพ้กระดาษ
  • กระดาษ : ชนะค้อน แต่แพ้กรรไกร
  • กรรไกร : ชนะกระดาษ แต่แพ้ค้อน

การเล่น

ผู้เล่นทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ไพล่มือที่จะเสี่ยงไว้ด้านหลัง เมื่อนับ “เป่า ยิ้ง” จะเตรียมเสี่ยงมือเอาไว้ ว่าจะออกเป็น ค้อน กระดาษ หรือกรรไกร เมื่อพูด “ฉุบ” ทั้งสองจะออกมือมาพร้อมกัน และจะรู้ทันทีว่าใครแพ้ ชนะ หรือเสมอ

เคล็ดลับและเทคนิค (ไม่เป็นที่ยืนยันแน่นอน)

  1. การเล่นเป่ายิ้งฉุบนั้น ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ผู้เล่นส่วนมากมักจะออก กรรไกรหรือกระดาษในตาแรก เนื่องจากการออกค้อนนั้นยังคงสภาพกำมือไว้แบบ เดิมตามความรู้สึกแล้ว ผู้เล่นจึงมักจะไม่ออกค้อนในตาแรก ฉะนั้น หากในตาแรกออกกรรไกรไว้ก่อน เมื่อปะทะกับกรรไกร หรือกระดาษของฝ่ายตรงข้าม ก็จะมีโอกาสชนะ หรือเสมอมากกว่าแพ้
  2. ในตาที่สอง ให้ออกสัญลักษณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามออกไว้ในตาที่แล้ว เช่น ฝ่ายตรงข้ามออกกรรไกร ก็ให้ออกกรรไกรตามในตาถัดไป จะมีโอกาสชนะมากกว่า

การเล่นเป่ายิ้งฉุบในประเทศต่างๆ

ประเทศเกาหลี เรียก คาวี พาวี โพ (가위 바위 보) พอพูดเร็วๆ ก็จะแผลงเป็น ไค ไพ โพ

ประเทศญี่ปุ่น เรียก จัง เคน โปง  jan-ken-pon! หรือเต็มๆ ว่า jan-ken-pon, aiko de sho! ใช้หลักเดียวกับไทย นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นยังมีการเล่นเป่ายิ้งฉุบด้วยขา

โดยกางขาหมายถึงกระดาษ ยืนตรงหมายถึงค้อน และยื่นขาหนึ่งข้างไปข้างหน้าหมายถึงกรรไกร ส่วนกฏการเล่นนั้นยังคงเหมือนเดิม

ประเทศสิงคโปร์

การเล่นมีทำมือสามแบบ คือ มังกร จีบนิ้วทั้งห้า / ก้อนหิน กำมือ / น้ำ หงายฝ่ามือ เริ่มเล่น ร้องว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท มีกติกา คือ

มังกรดื่มน้ำ มังกรชนะ

น้ำทำให้ก้อนหินจม น้ำชนะ

ก้อนหินฆ่ามังกร ก้อนหินชนะ

ประเทศมาเลเซีย

เรียกว่า วัน ทู ซุม การทำมือ มีห้าอย่าง คือ นก จีบนิ้วทั้งห้า /ก้อนหิน กำมือ /ปืน กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ /กระดาน คว่ำมือลง /น้ำ หงายฝ่ามือขึ้น

มีกติกา คือ

  • นกดื่มน้ำ นกชนะ
  • หินขว้างนก หินชนะ
  • หินทุบกระดานแตก หินชนะ
  • ปืนยิงก้อนหินแตก ปืนชนะ
  • ปืนยิงนกตาย ปืนชนะ
  • ปืนยิงกระดานแตก ปืนชนะ
  • น้ำทำให้ปืนจม น้ำชนะ
  • น้ำทำให้หินจม น้ำชนะ
  • กระดานลอยน้ำ กระดานชนะ
  • กระดานกดนก กระดานชนะ
ชาติตะวันตก

เรียก ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (Rock-paper-scissors) มี กรรไกร กระดาษ และ หิน เล่นตามแบบไทยและญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นการเล่นตามชาติตะวันออก ชาวอเมริกันมักเรียกเกม เป่า ยิ้ง ฉุบ ว่า “โรแชมโบ้” (roshambo)

จักรวาลแห่งการเป่ายิงฉุบ

ไม่หมดเพียงเท่านั้น ล่าสุดมีเพจเฟสบุ๊ก Kanyachan ได้เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความว่า “แท้จริงแล้วจักรวาลแห่งการเป่ายิงฉุบ ไม่ได้มีแค่ค้อน กระดาษ กรรไกร (ตามภาพประกอบ) โอยยย จำไม่ได้”

ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการทำมือเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น มังกร หมาป่า งู ต้นไม้ เป็นต้น พร้อมกับเส้นลูกศรที่โยงไปมา แสดงถึงว่าการออกมือในลักษณะนี้จะชนะกับแบบไหนอีกด้วย